สัญลักษณ์โค้งเป็นเกลียวที่ไร้จุดเริ่มต้นและจุดจบ ซึ่งสื่อถึงความเป็นนิรันดร์ไร้ที่สิ้นสุดอย่าง Infinity ถูกกำหนดเป็นโจทย์สำคัญในการออกแบบบ้าน “Infinity House” ด้วยความชื่นชอบในสัญลักษณ์ดังกล่าว สู่การเชื่อมต่อด้านฟังก์ชันการใช้งาน ซึ่งเจ้าของบ้านต้องการความเป็นสัดส่วน เพื่อการอยู่อาศัยอย่างลงตัวของสมาชิกทุกคน 

ด้วยการออกแบบอันโดดเด่นจากคอนเซปต์ที่น่าสนใจ เสมือนงานศิลปะชิ้นใหญ่ที่วาดลวดลายและเส้นสายได้ดึงดูสายตาของทุกคน วันนี้เราจึงชวน คุณโป้ง-วรนล สัตยวินิจ Executive Director แห่ง A49HD มาพูดคุยถึงงานออกแบบของ “Infinity House” กัน 


เมื่อดีไซน์หลอมรวมกับฟังก์ชัน

จากความต้องการของเจ้าของโครงการที่ชอบสัญลักษณ์ infinity ซึ่งให้ความหมายถึงการไม่มีที่สิ้นสุด และยังเป็นสัญลักษณ์ของเลข 8 ที่สื่อถึงความโชคดี แต่ก็ยังให้ความสำคัญกับฟังก์ชันการใช้งานจริง ทำให้คุณโป้งและทีม A49HD ต้องมีการดัดแปลงตัว Infinity ให้เหมาะสมกับใช้งาน

“จากโจทย์แรกนั้นเราได้มีการออกแบบดัดแปลงจากสัญลักษณ์ดังกล่าว โดยผสานเรื่องฟังก์ชันการใช้งานเข้าไป ที่เจ้าของบ้านต้องการบ้านที่เป็นสัดส่วน เพื่อให้สมาชิกอยู่อาศัยด้วยกันแต่ก็มีความเป็นส่วนตัว เพราะถ้าหากแปลนบ้านเป็นแบบเลข 8 หรือ Infinity เลย ก็อาจจะมีการใช้งานยาก และอาจไม่ได้เอื้อกับพื้นที่ที่มี

เราจึงนำไอเดียเรื่องนี้ไปบวกรวมกับความชอบอื่นๆ ของเจ้าของบ้าน ซึ่งก็คือความชอบในงานโครงสร้างเหล็ก จนนำไปสู่การนำส่วนโค้งบางส่วนของตัว Infinity มาใช้เป็นส่วน Pavillion และใช้งานโครงสร้างเข้ามาช่วยทำให้ดีไซน์น่าสนใจขึ้น แล้วก็เติมฟังก์ชันเรื่องการใช้งานเข้าไปให้ลงตัว เป็น Infinity House หลังนี้”


เส้นสายที่ช่วยเสริมกรอบอาคาร

เมื่อได้ดีไซน์ของบ้านมาแล้ว การเลือกสรรวัสดุที่นำมาใช้งานก็ต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขหลายๆ อย่าง ทั้งเรื่องความสวยงามและราคา สำหรับการเลือกใช้วัสดุปิดผิวอาคารของ “Infinity House” นี้ ก็มาจากความต้องการของเจ้าของบ้าน ผู้ผ่านการสร้างและปรับปรุงบ้านมาหลายแห่ง

“ทางเจ้าของบ้านเห็นว่า งานก่อสร้างที่ต้องอาศัยฝีมือช่างในตอนนี้ค่อนข้างควบคุมคุณภาพยากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น อะไรที่เลี่ยงการใช้ฝีมือช่างได้ก็อยากจะเลี่ยง อย่างเช่น ผนังฉาบปูนเรียบ ก็หวังพึ่งฝีมือช่างให้เรียบ เนี้ยบ ไร้ปัญหารอยแตกคงไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ทุกส่วนจึงอยากใช้วัสดุกรุผนังให้ได้มากที่สุด” 

ซึ่งในส่วนของวัสดุปิดผนังที่ใช้ใน Infinity House ส่วนหนึ่งคือ วัสดุตกแต่งผนัง เอสซีจี รุ่น โมดิน่า ที่สร้างมุมมองของเส้นสายให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น ด้วยเส้นสายเซาะร่องที่มีมิติโดดเด่นเป็นเส้นตรงยาวต่อเนื่อง เพิ่มเสน่ห์ให้ตัวบ้านสวยมีมิติดึงดูดสายตา


งาน Dry Process จุดเด่นเรื่องการดูแลรักษา

เพราะความสวยงามของบ้านต้องผสานไปกับเรื่องการดูแลรักษา หลายๆ ครั้งที่วัสดุบางประเภทนั้นไม่ตอบโจทย์ความต้องการ จึงเกิดเป็นความนิยมในวัสดุ Dry Process มากยิ่งขึ้น 

“ตอนนี้งาน Dry Process ประเภทวัสดุปิดผิวอาคารนั้นค่อนข้างมีบทบาทด้านการออกแบบมากขึ้น หลายๆ ครั้งที่เราต้องพิจารณาเลือกวัสดุที่ราคาเหมาะสมและยังให้ความสวยงามตามแบบที่วางไว้ วัสดุแบบ Dry Process จึงเข้ามาเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะถ้าเราใช้วัสดุธรรมชาติจริงๆ ราคาอาจจะพุ่งสูงเกินไป บวกกับต้องอาศัยการดูแลรักษาค่อนข้างเยอะ ซึ่งวัสดุปิดผิว Dry Process จึงตอบโจทย์เรื่องนี้” คุณโป้งกล่าวทิ้งท้าย

DECAAR by SCG มีบริการ Service Solution แบบครบวงจร ตั้งแต่ให้คำปรึกษางานออกแบบ จนถึงรายละเอียดของการติดตั้งให้ตรงตามการออกแบบของสถาปนิกและเจ้าของบ้าน พร้อมดูแลและรับประกันหลังการติดตั้ง ให้งานตกแต่ง เป็นเรื่องง่าย ด้วยทีมช่างระดับมืออาชีพ สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าอย่างสูงสุด